.

จริงหรือไม่ที่เค้าว่า Designer คนกลุ่มนี้มักจะคุยกันไม่รู้เรื่อง (หรือไม่จริง?)​​

ในบางครั้ง เจ้าของธุรกิจอาจปวดหัวเล็กน้อยเมื่อต้อง ทำงานกับทีมงานที่เป็น Designer  อาจเป็นเพราะว่า ทางฝั่ง Designer  ก็เข้าไม่ถึงวิธีคิดของคนเป็นเจ้าของธุรกิจ ส่วนทางฝั่งเจ้าของธุรกิจอาจจะคิดว่า “เข้าไม่ถึง” อารมณ์ศิลปิน ของ Designer วันนี้เรามีบทความ ที่จะทำให้ทั้งเจ้าของธุรกิจ และ ทีมงาน Designer เข้าใจกันมากขึ้นและทำงานกันอย่างมีประสิทธิมากที่สุด

พูดตั้งแต่เนิ่นๆ ตกลงกันก่อน
ลองจินตนาการว่า งานออกแบบ เหมือนกับแผ่นป้ายไวนิล ที่ปริ้นออกมาแล้ว การสั่งแก้ไขหลังจากที่งานเสร็จแล้ว เปรียบเสมือน ป้ายไวนิลที่เกิดข้อผิดพลาด จนกลายเป็น ป้ายตัดปะ หน้าที่ของคุณในฐานะเจ้าของธุรกิจหรือลูกค้า คือการให้ฟีดแบล๊คหรือความคิดเห็นที่มีต่อผลงานของดีไซเนอร์อย่างสม่ำเสมอ และคิดด้วยว่าพวกเขาต้องการ “เวลา” สำหรับแก้ไขงานตามที่คุณต้องการอีกด้วย  อย่ารอให้ถึงนาทีสุดท้าย ก่อนที่งานมันจะออกทะเลไปไกลจนกู่ไม่กลับ แล้วก็ต้องแก้กันเหมือนแทบจะทำขึ้นมาใหม่ ถ้าคุณไม่บอกว่าต้องการจะแก้ไขอะไร พวกเขาก็คงไม่มีทางรู้อยู่แล้ว

คอมเมนต์แบบเจาะจง สร้างสรรค์
ดีไซเนอร์แทบทุกคนต้องเคยได้ยินคอมเมนต์แบบนี้แน่ๆ “ทำไมมันดูแปลกจัง ทำให้มันไม่แปลกแบบนี้ได้มั้ย” หรือ “ทำให้มันสวยกว่านี้ได้มั้ย” สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเลยคือคำว่า "สวย" ของคุณกับของ Designer มันไม่เหมือนกัน การที่คุณอยากได้ งานที่สวยมากขึ้น ก็ควรจะเพิ่มคำอธิบายให้ละเอียดชัดเจน เพราะแค่คำว่า “สวย” อย่างเดียว คนเป็นดีไซเนอร์ก็ไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาให้คุณได้อย่างไรการคอมเม้นท์ควรมีรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น ฟอนต์ สี เลย์เอาท์ หรือถ้ามีตัวอย่างประกอบการอธิบาย จะชัดเจนมากที่สุดว่า คุณและDesigner เข้าใจตรงกัน แทนที่จะพูดว่าว่า "มันดูแปลกไป" คุณควรจะพูดว่า “เลย์เอาท์มันดูซับซ้อนไป เราจะทำให้มันดูง่ายกว่านี้ได้มั้ย” เช่นเดียวกันกับสิ่งที่คุณชอบในงานชิ้นนั้น ถ้ามีองค์ประกอบไหนที่คุณรู้สึกว่ามันดีมาก และมันควรจะมีมากกว่านี้ ก็ต้องบอกให้ดีไซเนอร์รู้เหมือนกัน

พูดถึงสิ่งที่อยากปรับปรุง อย่างสร้างสรรค์จริงๆ
แล้วคนที่ทำงานด้าน ออกแบบนั้น จะคุ้นเคยกับคำวิจารณ์อยู่แล้ว แต่การตั้งคำถามแบบแย่ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่คุณไม่ชอบในงานออกแบบหรือการแสดงความเห็นแบบไม่ให้เกียรติผู้ออกแบบโดยไม่จำเป็นก็อาจจะทำให้ดีไซเนอร์รู้สึกไม่พอใจได้

การให้เกียรติและอิสระในการตัดสินใจถือเป็นธรรมเนียมที่ควรจะปฏิบัติกับคนในทุกสาขาอาชีพ ไม่จำกัดเฉพาะดีไซเนอร์ เมื่อคุณต้องการแสดงความเห็นเกี่ยวกับโปรเจคต์ พยายามโฟกัสไปที่ความคิดของคุณและสิ่งที่คุณอยากจะให้มันเป็น มากกว่าที่จะไปตัดสินว่างานชิ้นนั้นมันดีหรือไม่ดี ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากจะให้ดีไซเนอร์เปลี่ยนฟอนท์ที่ใช้ ก็ไม่ควรจะพูดว่า “ฟอนท์นี้มันน่าเกลียด” แต่ควรจะพูดว่า “อยากให้คุณลองใช้ฟอนท์ที่ต่างจากอันนี้ดู” ซึ่งเป็นการพูดถึงทิศทางที่คุณอยากจะให้มันเป็น

ฟังความคิดเห็นของ ดีไซเนอร์บ้าง

บางทีคุณอาจเริ่มจากการเปิดโอกาสให้กับนักออกแบบได้เสนอไอเดียของเขาเองว่าทำไมเขาจึงตัดสินใจออกแบบมาในลักษณะนั้น เพราะมันจะทำให้คุณเห็นว่าดีไซเนอร์ของคุณคิดอย่างไร และมีข้อจำกัดในการทำงานอย่างไรบ้าง

ให้อิสระกับนักออกแบบบ้าง

บางครั้งเมื่อคุณออกความคิดเห็นหรือข้อจำกัดมากเกินไป งานที่จะออกมาจะเหมือนกับงานที่ทำด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ดูขาดความเป็นมนุษย์ และความรู้สึก ดังนั้นต้องยืดหยุ่นบ้าง อะไรที่จำเป็นต้องมีก็ยึดเอาไว้ ส่วนอะไรที่พอจะยืดหยุ่นได้ก็ต้องปล่อยให้ดีไซเนอร์แสดงฝีมือและความสร้างสรรค์ออกมาบ้าง

ทีมงานGenius รับจ้างทําเว็บไซต์ รับ ทำ เว็บไซต์ และ seo หวังว่า เราจะสื่อสารกันได้เข้าใจมากขึ้น​

บทความที่น่าสนใจ