Blog

บทความน่ารู้

การออกแบบระบบ CHECKOUT ในเว็บไซต์เพื่อสร้าง CONVERSION

การออกแบบระบบ CHECKOUT ในเว็บไซต์เพื่อสร้าง CONVERSION


1 minute read

Listen to article
Audio is generated by AI and may have slight pronunciation nuances.

สาระสำคัญภายในบทความ

มันไม่ได้เป็นความลับแต่อย่างใด ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณนั้นมาแค่ผ่านๆ แบบไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้ออะไรหรืออาจจะไม่กลับมาเลยด้วยซ้ำส่วนสำหรับกลุ่มคนที่สนใจจริงๆในสิ่งที่คุณต้องการจะขาย ซึ่งก็มีแค่กระบวนการ checkout เท่านั้นที่ขั้นอยู่ระหว่างพวกเขากับการซื้อ และมีหลายกรณีที่ลูกค้าหยิบสินค้าลงตระกร้าเฉยๆแล้วจากไปโดยที่ไม่ซื้อของสักชิ้นเลย ซึ่งหนึ่งในงานหลักของผู้พัฒนาเว็บไซต์ e-commerce คือ การค้นหาเหตุผลของพฤติกกรรมเหล่านี้และหาวิธีลดการเกิดขึ้นของมัน เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการออกแบบ Checkout ที่ทำให้เกิดการทำธุรกรรมที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่

‍ทำการโฮส checkout ด้วยตัวเอง

‍มันอาจทำให้ลูกค้านั่นรู้สึกอึกอักใจ เมื่อต้องถูก redirect หรือส่งต่อไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม (นอกจากจะเป็น PayPal ที่มักจะช่วยลดความกังวลของพวกเขาได้) สำหรับการ checkout และเพื่อการชำระเงินที่อื่น การ redirect ของเว็บไซต์นั้นมีแนวที่จะเป็นลบและให้ความรู้สึกก่อกวน ทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจเนื่องจากมันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากเมื่อเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยรายละเอียดส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะกับเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก ซึ่งหากคุณจริงจังกับธุรกิจ e-commerce จะเป็นการดีมากถ้าคุณสามารถโฮส checkout ด้วยตัวเองแทนที่จะส่งต่อไปยังเว็บไซต์อื่นเนื่องจากคุณไม่อยากปวดหัวเพิ่มกับการเขียนโปรแกรมด้วยตัวเอง

ต่อต้านการใช้ค่าใช้จ่ายแฝง (Hidden Fees)

หนึ่งในสิ่งที่น่าสังหรณ์ที่สุดที่นักช้อปออน์ไลน์ต้องเผชิญคือการกำหนดค่าทำเนียมที่ไม่ได้เปิดเผยขณะทำการ Checkout แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องง่ายๆเหมือนกับภาษีและค่าจัดส่ง แต่ก็ควรรวมให้เห็นอยู่กับราคาสินค้า เพื่อไม่ให้ลูกค้านั้นรู้สึกว่าความไว้วางใจของเขาถูกทรยศ ในขณะที่สิ่งที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถทำได้ ผู้ใช้จะต้องตระหนักถึงความเป็นจริงก่อนที่พวกเขาจะคลิกสินค้าใส่รถเข็น การเปิดเผยรายละเอียดค่าธรรมเนียมมีความสำคัญต่อการสร้างความไว้วางใจ ซึ่งหากอัตรากำไรของคุณสูง พยายามรวมค่าจัดส่งในราคาสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการละทิ้งรถเข็นเนื่องจากผู้ซื้อมีแนวโน้มที่จะตกใจกับค่าจัดส่งสินค้าโดยเฉพาะในเอเชีย

‍ให้ตัวเลือกการชำระเงินสำหรับลูกค้า

‍ผู้ใช้ส่วนมากมักจะอยู่ในความรีบร้อนและมันสามารถเป็นเรื่องยุ่งยากมากสำหรับพวกเขาที่ต้องสร้างบัญชีก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้ซื้ออะไร อาจเป็นเพราะพวกเขาพบว่ากระบวนการนั้นน่าเบื่อหรือไม่ต้องการที่จะใส่ใจเกี่ยวกับการที่จะต้องมาจัดการบัญชีออนไลน์อีกบัญชี ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร สิ่งที่ที่ดีที่สุดคือการเสนอตัวเลือกให้ลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าโดยไม่ต้องสร้างบัญชีก่อนเนื่องจากจะมีลูกค้าจำนวนมากที่จะขอบคุณในฐานะที่คุณได้ทำกระบวนการซื้อสะดวกมากยิ่งขึ้น

‍แสดงความปลอดภัยของเว็บไซต์

‍อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดที่ธุรกิจ e-commerce เผชิญคือการขาดความไว้วางใจของลูกค้าส่วนใหญ่มีเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนต่อผู้ที่ไม่รู้จัก อย่างไรก็ตามมีสัญญาณความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับซึ่งสามารถแสดงบนเว็บไซต์ของคุณได้ เพื่อให้ความมั่นใจต่อลูกค้าว่าคุณปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ตราประทับด้านความปลอดภัยมีให้บริการจากเว็บไซต์บุคคลที่สามเช่น TRUST2 BBB, Verisign ฯลฯ นอกจากนี้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีใบรับรอง SSL ซึ่งเป็นหลักฐานว่าเว็บไซต์ของคุณใช้การเชื่อมต่อแบบ encrypted ที่เสถียรภาพเพื่อปกป้องข้อมูลทางการเงินและข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสำคัญจากเบราเซอร์ของผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์ e-commerce แม้แต่เกตเวย์การชำระเงินที่คุณใช้ก็ควรมีชื่อเสียงที่ดี

ยังอยู่ที่เดิม?

‍ถึงแม้ว่าจะทำตามเคล็ดล้บข้างต้นแล้ว คุณก็ยังอาจจะมีลูกค้าจำนวนมากที่ออกจากเว็บไซต์ก่อนที่จะทำการจ่ายตังค์เพียงเพราะกระบวนการต่างๆนั้นมีความยาวและใช้เวลานาน (ดูภาพ) และมีจำนวนหลายหน้า การมีแถบแสดงความคืบหน้าหรือแผนที่ที่บอกพวกเขาว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนใด จะสามารถช่วยลดการละทิ้งรถเข็นช็อปปิ้งได้อย่างมาก

แน่นอนว่าปัจจุบันเว็บไซต์ต่างๆก็ซัพพอร์ทการเช็คเอาต์บนโทรศัพท์แล้วซึ่งแน่นอนการไม่มีการชำระเงินที่ปรับให้เหมาะกับอุปกรณ์จะเป็นการลด Conversion

การโชว์ขั้นตอนการชำระเงินทางด้านขวาจะทำให้ผู้ซื้อที่จะซื้อสินค้าไม่อยากซื้อเพราะความยาวของมัน เป็นรูปแบบที่อัดแน่นเกินไปและไม่สามารถดำเนินการได้ผ่านโทรศัพท์ คุณภาพข้อเดียวคือมีการให้ตัวเลือก PayPal ซึ่งอาจทำให้ผู้ซื้อที่รู้สึกกังวลที่จะใส่ข้อมูลบัตรเครดิตไปบนหน้าที่ไม่ได้มีความน่าไว้วางใจ รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น  

‍เกตเวย์การชำระเงินแบบ 2c2p

‍ในประเทศไทยและพม่า เกตเวย์การชำระเงินที่นิยมคือ เนื่องจากระบบรู้ว่าผู้ซื้อในภูมิภาคนี้ไม่ชอบใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระเงินหรือไม่มีบัตรเครดิตใด ๆ ผู้ซื้อต้องการใช้บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสโดยเฉพาะ ในประเทศไทย ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสมีให้บริการในร้านสะดวกซื้อต่างๆ เช่น เทสโก้โลตัส บิ๊กซี แฟมิลี่มาร์ท ทรูมันนี่ ทีโอที ส่วนในเมียนมาร์ ร้านสะดวกซื้อได้แก่ abc outlets และ grab&go outlets อีกหนึ่งปรากฏการณ์ในเอเชียคือการใช้จ่ายผ่านเว็บโดยการตัดบัญชีโดยตรงมากกว่าการใช้บัตรเครดิต ขณะที่เรื่องนี้ยังไม่เป็นที่นิยมในเมียนมาร์ ความไม่ไว้วางใจของเมียนมาร์ต่อระบบธนาคารจะทำให้วิธีการหักบัญชีเงินฝากยังคงเป็นที่ต้องการมากกว่าบัตรเครดิต


สนใจจ้างทีมการตลาด ติดต่อ GENIUS GRAPHIC CO., LTD. รับทําการตลาดออนไลน์ให้เว็บไซต์ติดหน้าแรก google ได้ที่

« Back to Blog