คุณอาจจะรู้อยู่แล้วว่า Google ใช้ปัจจัย 200 ข้อกับการจัดอันดับใน Algorithm หรือระบบชุดคำสั่งขนาดใหญ่ที่ใช้ในการจัดอันดับบน Search Engine แต่มันคืออะไรกันแน่ล่ะ? วันนี้คุณมาถูกที่แล้ว เพราะว่าเราได้รวบรวมมาให้เป็นรายข้อในฉบับเต็ม บางส่วนก็ได้พิสูจน์มาแล้วบางส่วนก็ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ อื่นๆ น่าจะเป็นการคาดการณ์ของเนิร์ดด้านSEO แต่ทั้งหมดรวมอยู่ที่นี่แล้ว
ปัจจัยเรื่องโดเมน
1. อายุของโดเมน ในวิดิโอนี้ Matt Cutts กล่าวว่า:“ความแตกต่างระหว่างโดเมนที่มีอายุ 6 เดือนกับ 1 ปีแทบไม่แตกต่างอะไรกัน”พูดอีกอย่างหนึ่งคือ อายุของโดเมนส่งผลต่อการจัดอันดับ…แต่อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญมากนัก
2. คีย์เวิร์ดที่ปรากฏในนามสกุลโดเมนหรือTLD: ไม่ได้ช่วยทำอันดับเหมือนอย่างที่เคยเป็น แต่การที่มีคีย์เวิร์ดทุกตัวในโดเมนยังคงทำให้คนที่จดจำ อย่างไรก็ตามยังมีคีย์เวิร์ดที่มีการทำตัวอักษรให้เป็นตัวหนาที่ปรากฏในชื่อโดเมน
3. คีย์เวิร์ดที่เป็นคำแรกในโดเมน: โดเมนที่ขึ้นต้นด้วยคีย์เวิร์ดเป้าหมายที่เล็งไว้ให้อยู่อันดับแรกของ Google นั้นจะมีการจัดอันดับที่ดีกว่าโดเมนที่ไม่มีทั้งคีย์เวิร์ดในโดเมนเลยหรือมีคีย์เวิร์ดไว้กลางๆ หรือด้านหลังของโดเมน
4. ความนานของการจดอายุโดเมน: ในสิทธิบัตรของ Google กล่าวว่า:“โดเมนที่มีค่าหรือโดเมน (ที่น่าเชื่อถือ) นั้นจะจ่ายเงินค่าโดเมนล่วงหน้าเป็นเวลาหลายปี ขณะที่โดเมนใช้แล้วทิ้ง (ที่ไม่น่าเชื่อถือ) น้อยมากที่จะจดอายุโดเมนมากกว่า 1 ปี เพราะฉะนั้นวันที่โดเมนหมดอายุในอนาคตจะเป็นปัจจัยทำนายความน่าเชื่อถือของโดเมนนั้น”
5. คีย์เวิร์ดในชื่อโดเมนย่อย (Subdomain): ในปี 2011 Mozz ยอมรับว่าคีย์เวิร์ดที่ปรากฏในโดเมนย่อยนั้นช่วยเพิ่มการจัดอันดับได้:
6. ประวัติของโดเมน: การที่เว็บไซต์มีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของ (ผ่าน whois) หรือหมดอายุแต่ไม่มีการต่ออายุหลายๆ ครั้ง ก็เป็นสิ่งที่อก google ให้ “คืนการตั้งค่าทั้งหมด” ของประวัติของเว็บไซต์ ลบลิงค์ที่ชี้ไปยังโดเม
7. โดเมนที่มีชื่อโดเมนตรงกับคีย์เวิร์ด: EMDs อาจทำให้อันดับคุณขึ้น…ถ้านี่เป็นเว็บไซต์คุณภาพ แต่หาก EMD นั้นสร้างจากเว็บไซต์คุณภาพต่ำ มันก็เสี่ยงต่อการลดอันดับโดเมนลง โดย Matt Cutts ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในEMD Update ว่า:
8. การเปิดเผยหรือเป็นสาธารณะของโดเมน whois:การไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเจ้าของโดเมน whois อาจเป็นสัญญาณของ “บางอย่างที่ซ่อนเร้น” ซึ่ง Matt Cuttsกล่าวโดยอ้างอิงจาก Pubcon ปี 2006 ว่า: “…เมื่อเราตรวจสอบการจดโดเมน whois ส่วนมากพบว่าพวกเขาเลือกจดแบบ “ที่มีบริการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล” นั่นเป็นเรื่องแปลกทีเดียว …การเลือกจดแบบ private whois ไม่ใช่เรื่องแย่แต่เมื่อคุณดูปัจจัยเหล่านี้หลายๆ อย่างรวมกัน คุณกำลังพูดถึงประเภทของเว็บมาสเตอร์ที่มีอยู่หลากหลายมากกว่าคนๆ หนึ่งที่มีเว็บไซต์เดียว”
9. การลงโทษโดยผู้ใช้ข้อมูล whois: หาก Google ระบุได้ว่าบุคคลใดแสปม ก็ถือได้ว่ากระทำกับเว็บไซต์อื่นๆ โดยมีเจ้าของคนเดียวกันนั้น
10. นามสกุลโดเมนในประเทศ:มีรหัสประเทศในนามสกุลโดเมน เช่น .cn, .pt, .ca อาจช่วยส่งผลให้เว็บไซต์นั้นทำอันดับได้ดีในประเทศนั้นๆ…แต่อาจส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ระดับสากลที่ลดลง
ปัจจัยในการจัดอันดับหน้าเว็บ
11. คีย์เวิร์ดในหัวข้อเว็บหรือTitle Tag: Title Tag เป็นสิ่งสำคัญที่สุดรองลงมาจากเนื้อหาของหน้าเว็บ (นอกจากเนื้อหาหน้าเว็บ) และเพราะฉะนั้นมันจึงส่งผลต่อการปรับแต่ง SEO โดยอาศัยปัจจัยภายใน (On-page)
12. ใส่คีย์เวิร์ดเป็นคำแรกของหัวข้อเว็บหรือTitle Tag:จากข้อมูลของ Moz data หัวข้อเว็บหรือ Title Tag จะเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ดที่มีแนวโน้มจะแสดงผลได้ดีกว่า Title Tag กับคีย์เวิร์ดที่วางไว้ด้านหลังของ Tag ดังรูป:
13. คีย์เวิร์ดในเนื้อหา Tag: เป็นตัวบ่งบอกการจัดอันดับ ไม่มีความสำคัญในตอนนี้แต่ยังคงสร้างความแตกต่างได้
14. คีย์เวิร์ดที่ปรากฏในชื่อเรื่องหรือ H1 Tag: H1 Tag เป็น “ชื่อเรื่องลำดับที่สอง” ที่ส่งสัญญาณที่ดีไปยัง Google จากผลการศึกษาเชิงสัมพันธ์ดังรูป:
15. ใช้คีย์เวิร์ดในข้อความนั้นบ่อยๆ ในบทความ: มีคีย์เวิร์ดปรากฏมากกว่าส่งผลต่อการจัดอันดับ
16. ความยาวของบทความ: บทความที่มีจำนวนคำมากๆ ย่อมส่งผลดีกว่าบทความที่มีจำนวนคำสั้นๆ ซึ่ง SERPIQ พบว่าความยาวของบทความสัมพันธ์กับอันดับเฉลี่ยของคีย์เวิร์ดที่ต้องการหรือ SERP Position ดังรูป:
17. ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ด:ถึงแม้ว่าจะไม่สำคัญเมื่อแต่ก่อน แต่ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ดเป็นสิ่งที่ Google ใช้ตัดสินใจหัวข้อของหน้าเว็บ แต่การใช้คีย์เวิร์ดมากเกินไป ย่อมส่งผลเสียเช่นกัน
18. Latent Semantic Indexing Keywords in Content (LSI): คีย์เวิร์ดช่วยให้เซิร์จเอนจิ้นสกัดความหมายจากคำที่มีความหมายมากกว่า 1 ความหมาย (Apple บริษัทคอมพิวเตอร์ vs. ผลไม้) การเน้นคำ/การขาดคำที่เป็น LSI อาจส่งผลต่อคุณภาพเนื้อหาของเว็บ
19. เน้นคีย์เวิร์ดที่เป็น LSI ในหัวข้อและเนื้อหาของ Tag:คีย์เวิร์ดที่เน้น LSI ในหน้า meta tagจากเนื้อหาหน้าเพจอาจช่วยให้ Google แยกแยะคีย์เวิร์ดที่เหมือนกันซึ่งส่งผลดีต่อการจัดอันดับ
20. ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บผ่าน HTML:ทั้ง Google และ Bing ใช้ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บเป็นปัจจัยในการจัดอันดับ เซิร์จเอนจิ้นสามารถคาดการณ์ความเร็วของหน้าเว็บคุณได้แม่นยำมากโดยดูจากโค้ดของหน้าและขนาดของไฟล์
21. เนื้อหาที่ซ้ำกัน: เนื้อหาที่เหมือนๆ กันในเว็บไซต์เดียวกัน (แม้ว่าจะปรับแก้เพียงเล็กน้อย) สามารถสร้างอิทธิพลเชิงลบให้กับการแสดงในหน้าผลการค้นหาของเว็บ
22. การใช้ Rel=Canonical: เมื่อใช้อย่างเหมาะสม การใช้ tag นี้จะช่วยให้ Google เข้าใจว่าหน้านี้ไม่ได้สร้างเนื้อหาซ้ำกัน
23. ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บผ่าน Chrome: Google อาจใช้ข้อมูลผู้ใช้งานเบราวเซอร์ Chrome ช่วยจัดการการโหลดหน้าเว็บ ความเร็วของเซิร์ฟเวอร์ การใช้ CDN และความเร็วของเว็บที่ไม่ใช่ HTML
24. การทำ SEO ให้กับรูปภาพ: ไม่ว่าจะเป็นภาพปรับแต่งหน้าเว็บ ชื่อไฟล์,alt text, title, description, caption ของรูปล้วนส่งผลต่อการจัดอันดับทั้งสิ้น
25. ความสดใหม่ของบทความที่มีการอัพเดทต่อเนื่อง: Google Caffeineจะสร้างขึ้นมาเพื่ออัพเดทคอนเท็นต์ที่มีเวลาการค้นหายิ่งใหม่กว่ายิ่งเป็นผลดีต่อการจัดอันดับ การเน้นปัจจัยนี้ว่ามีความสำคัญ Google จะแสดงวันที่หน้าเว็บอัพเดทล่าสุดสำหรับบางหน้าของเว็บดังรูป
26. การอัพเดทคอนเท็นต์ต่อเนื่อง:ความสำคัญของการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยเรื่องความสดใหม่ การเพิ่มเติมหรือลบหลายๆ ตอนในหน้าทั้งหมดนั้นจะดีกว่าการปรับเปลี่ยนเพียงไม่กี่คำ
27. ความถี่ในการแก้ไขหน้าเว็บ: หน้าเว็บได้อัพเดทบ่อยแค่ไหน? รายวัน, รายสัปดาห์, ทุกๆ 5 ปี? การอัพเดทหน้าบ่อยๆ จะช่วยให้เกิดการรับรู้ถึงความสดใหม่
28. การมีคำที่ต้องการเน้นให้ปรากฏ: การใส่คีย์เวิร์ดลงไปใน 100 คำแรกของหน้าบทความจะช่วยให้การจัดอันดับ google ดีขึ้น
29. คีย์เวิร์ดใน H2, H3 Tags: ใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการให้ปรากฏในหัวเรื่องรองใน H2 หรือ H3 บางทีอาจส่งผลที่ลดลงต่อการจัดอันดับ ซึ่ง Moz’s panel ก็เห็นตรงกันว่า:
30. การเรียงลำดับคำของคีย์เวิร์ด: การเรียงคีย์เวิร์ดที่ถูกต้องตรงกับเนื้อหาหน้าเว็บช่วยให้อันดับดีขึ้นมากกว่าใช้ข้อความที่เป็นคีย์เวิร์ดอย่างเดียวกันในหลายๆ หน้า ตัวอย่างเช่น “cat shaving techniques” หน้าที่ทำ SEO กับข้อความ “cat shaving techniques” จะทำอันดับได้ดีกว่าหน้าที่ทำ SEO “techniques for shaving a cat” สิ่งนี้สะท้อนว่าเหตุใดการทำ keyword research จึงสำคัญ สำคัญมากจริงๆ
31. การทำลิงค์ออกไปยังเว็บคุณภาพอื่นๆ:ส่วนใหญ่นัก SEO หลายคนมองว่าการทำลิงค์ส่งออกไปยังเว็บคุณภาพจะช่วยให้เว็บนั้นน่าเชื่อถือในสายตา Google
32. การทำลิงค์ที่มีธีมนั้นๆ ออกไปยังเว็บอื่น:จากการศึกษาของ Moz เซิร์จเอ็นจิ้นจะใช้คอนเท็นต์หน้าเว็บคุณลิงค์ไปยังเว็บหน้านั้นซึ่งเป็นการบอก Google ว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับเรื่องนั้น ยกตัวอย่างเช่น หากคุณมีหน้าเว็บเกี่ยวกับรถที่ลิงค์ไปยังหน้าภาพยนตร์ สิ่งนี้จะบอก Google ว่าหน้าเว็บคุณเกี่ยวกับภาพยนตร์รถยนต์ ไม่ใช่ยานยนต์เลย
33. การใช้ไวยากรณ์และการสะกดคำที่ถูกต้อง: การใช้ไวยากรณ์และการสะกดคำที่ถูกต้องจะบ่งบอกถึงคุณภาพของเว็บ ถึงแม้ว่า Cutt จะส่งสารถึงเรื่องนี้ในปี 2011 เกี่ยวกับประเด็นนี้ว่าสำคัญหรือไม่
34. บทความที่เขียนขึ้นโดยตรงเฉพาะเว็บ:บทความเป็นบทความที่เขียนขึ้นใหม่หรือไม่? หากว่าเป็นบทความที่คัดลอกมาจากหน้าดัชนีจะไม่ช่วยให้ทำอันดับได้ดีสุดท้ายมันจะไปอยู่ในหน้าดัชนีเสริมหรือSupplemental Index
35. บทความเสริมที่เป็นประโยชน์:จากเอกสารคู่มือการให้คะแนนของ Google ที่ตีพิมพ์เผยแพร่แก่สาธารณะบอกว่า เนื้อหาเสริมที่เป็นประโยชน์จะเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของหน้าเว็บ (และส่งผลต่อไปถึงการจัดอันดับของ Google) ยกตัวอย่างเช่น การแปลงค่าสกุลเงิน การคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ และสูตรอาหารที่เชื่อมโยงประสบการณ์ของผู้ใช้
36. จำนวนลิงค์ออกไปยังเว็บอื่น: OBLs ที่มากเกินจำเป็นทำให้การจัดอันดับ “รั่วไหล” ส่งผลเสียต่อการจัดอันดับ
37. มัลติมีเดีย:ภาพวิดิโอ และองค์ประกอบทางมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกมองว่าเป็นเนื้อหาที่มีคุณภาพซึ่งส่งผลต่อการจัดอันดับ
38. จำนวนของลิงก์ภายในเว็บเดียวกันที่ลิงก์มาหาหน้าเว็บ:จำนวนของลิงก์ภายในเว็บเดียวกันที่ลิงก์มาหาหน้าเว็บเกี่ยวข้องกับหน้าเว็บอื่นๆ ที่ลิงก์มายังเว็บนั้น
39. คุณภาพของลิงก์ภายในเว็บเดียวกันที่ลิงก์มาหาหน้าเว็บ:ลิงก์ภายในเว็บเดียวกันจากหน้าเว็บโดเมนคุณภาพส่งผลดีต่ออันดับอย่างมากกว่าเว็บที่ไม่มีหรือมีค่า PR ต่ำ
40. ลิงค์เสียจำนวนมาก:มีลิงก์เสียจำนวนมากหน้าเว็บอาจส่งผลเสียต่ออันดับในแง่ที่ว่าเว็บนั้นถูกทิ้งร้างไว้ หรือถูกละเลยไม่ได้เอาใจใส่จากเจ้าของเว็บ เอกสารคู่มือการให้คะแนนของ Google ใช้ปัจจัยการมีลิงค์เสียจำนวนมากเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินคุณภาพของหน้าแรกของเว็บ
41. ระดับการอ่าน: ไม่ต้องสงสัยเลยว่า Google ใช้ระดับการอ่านซึ่งมีทั้งขั้นต้นขั้นกลาง และขั้นสูงของเว็บเพจจะช่วยในการจัดอันดับ ยิ่งเว็บมีระดับการอ่านสูงก็ยิ่งได้อันดับดีดังสถิติการจัดระดับการอ่านที่เห็นดังรูป:
แต่ข้อมูลนี้ยังมีประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ บางคนกล่าวว่าระดับการอ่านขั้นต้นช่วยให้อันดับดีกว่าเพราะเข้าถึงคนส่วนใหญ่ แต่บางคนก็ใช้เว็บที่มีระดับการอ่านขั้นต้นอย่างเช่น Ezine Articles
42. ลิงค์ affiliate: การมีลิงค์ affiliate ไม่ได้ส่งผลเสียอะไรต่ออันดับตราบใดที่คุณไม่ได้ใส่มันมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ Google เพ่งเล็งได้ว่าเป็นเว็บ “thin affiliate site” คือเป็นเว็บที่มีเนื้อหาน้อยเกินไป แต่มีลิงค์ affiliate มากเกินไป
43. การใส่ tag html ที่ผิดพลาดและ/หรือขาดการตรวจสอบ W3C :มีข้อผิดพลาดของการใส่ HTML จำนวนมากหรือการโค้ดที่ไม่ระวังส่งผลให้เว็บนั้นไม่มีคุณภาพ แต่ยังมีประเด็นข้อถกเถียงในเรื่องนี้ ผู้ที่ทำงานด้าน SEO เชื่อว่าการตรวจสอบ WC3 ให้สัญญาณว่าเว็บนั้นไม่มีคุณภาพซึ่งเป็นในทางตรงข้าม
44. หน้าเว็บของโดเมนที่มี authority:หน้าเว็บของโดเมนที่มี authorityมากกว่าย่อมส่งผลต่อการจัดอันดับที่สูงกว่าหน้าเว็บของโดเมนที่มี authority น้อยกว่า
45. Pagerank ของหน้าเว็บ:ไม่ได้สัมพันธ์กันเสมอไป แต่โดยส่วนใหญ่หน้าเว็บที่มีค่า PR สูงกว่าย่อมมีแนวโน้มที่จะได้อันดับสูงกว่าหน้าเว็บที่มีค่า PR ต่ำ
46. ความยาวของ URL: ให้แง่คิดไว้ว่าหากใช้ URLs ที่มีความยาวมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อการมองเห็นผลลัพธ์การค้นหา
47. ที่อยู่ URL หรือ URL Path: หากหน้านั้นอยู่ใกล้กับหน้าแรกของเว็บก็ย่อมได้ authority ดีกว่าหน้าอื่น
48. ผู้มีสิทธิ์แก้ไขหน้าเว็บที่เป็นมนุษย์: ถึงแม้ว่ายังไม่มีการพิสูจน์ แต่ Google เองก็มีสิทธิบัตรที่เปิดให้ผู้มีสิทธิ์แก้ไขหน้าเว็บที่เป็นมนุษย์จริงๆ สามารถแก้ไขบางอย่างในระบบที่อาจส่งผลต่ออันดับเฉลี่ยของคีย์เวิร์ดที่ต้องการหรือ SERPs
49. หน้าหมวดหมู่: หน้าหมวดหมู่ที่รวบรวมเนื้อหาคล้ายกันเข้าด้วยกันเป็นสัญญาณที่ดี หน้าที่มีหมวดหมู่เนื้อหาใกล้เคียงกันจะได้อันดับที่ดีกว่าหน้าที่ใส่หมวดหมู่ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวข้องกันน้อย
50. ป้ายกำกับ WordPress: ป้ายกำกับ Wordpress เป็นสัญญาณที่ดี จาก Yoast.com พูดถึงเรื่องนี้ว่า:“สิ่งเดียวที่จะยกระดับ SEO ของคุณได้คือ ต้องเชื่อมโยงเนื้อหาคล้ายกันเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะกลุ่มโพสต์ที่มีเนื้อหาคล้ายกันเข้าด้วยกัน”
51. การมีคีย์เวิร์ดใน URL:ให้สัญญาณที่ดีต่อการจัดอันดับ
52.URL Strings : หมวดหมู่ใน URLString ซึ่งอ่านได้โดย Google และช่วยในการจัดอันดับซึ่งทำให้รู้ว่าหน้าเว็บเป็นเรื่องอะไรดังรูป:
53. การอ้างอิงและแหล่งที่มา:หน้าเว็บที่มีการอ้างอิงและบอกแหล่งที่มา เช่น เอกสารรายงานการวิจัย อาจบอกถึงคุณภาพของเว็บนั้น ซึ่งเอกสารคู่มือคุณภาพของ Google ก็ยังบอกไว้ด้วยว่าผู้รีวิวบทความควรใส่ใจในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งที่มาว่าบทความที่เห็นแต่ละหน้านั้นมีแหล่งที่มาหรือไม่: “นี่เป็นหัวข้อที่ผู้เชี่ยวชาญและ/หรือแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ…” อย่างไรก็ตาม Google ปฏิเสธว่าเขาใช้ลิงค์จากภายนอกไปยังหน้าเว็บนั้นมาช่วยในการจัดอันดับ
54. การใช้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยหรือ Bullets และตัวเลขต่างๆ: การใช้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยหรือ Bullets และตัวเลขต่างๆจะช่วยแบ่งบทความให้ผู้อ่านอ่านง่ายขึ้น ทำให้บทความนั้นเป็นมิตรต่อผู้อ่านมากขึ้น Google ชอบเนื้อหาที่มีการใช้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยหรือ Bullets และตัวเลขต่างๆ
55. ลำดับของหน้าใน sitemap:การจัดลำดับหน้าที่สำคัญมาก่อนในไฟล์sitemap.xml อาจส่งผลต่อการจัดอันดับ
56. การส่งลิงค์ออกมากเกินไป: Quality rater documentกล่าวว่า: “หน้าบางหน้ามีลิงค์มากเกินไป จนทำให้เบี่ยงเบนความสนใจไปจากเนื้อหาหลัก”
57. จำนวนคีย์เวิร์ดอื่นในหน้านั้นในการจัดอันดับ:หากหน้านั้นในการจัดอันดับมีหลายๆ คีย์เวิร์ดอาจเป็นสัญญาณให้ Google จัดอันดับว่าเป็นหน้าคุณภาพ
58. อายุของหน้า:ถึงแม้ว่า Google จะชอบคอนเท็นต์ที่สดใหม่ แต่หน้าเก่าๆ ที่อัพเดทต่อเนื่องอาจให้ผลดีกว่าหน้าเว็บใหม่
59. หน้าตาเว็บที่เป็นมิตรกับผู้อ่าน:อ้างอิงจากGoogle Quality Guidelines Document อีกครั้งว่า:“หน้าตาเว็บที่มีคุณภาพสูงจะส่งผลให้คอนเท็นต์หลักซึ่งมองเห็นได้ในผลลัพธ์การค้นหา”
60. Parked Domains: Google ได้ให้ความสำคัญของ Parked Domain น้อยลงตั้งแต่การอัพเดทในเดือนธันวาคมปี 2011
61. คอนเท็นต์ที่มีประโยชน์: Jared Carrizles ผู้อ่านของ Backlinko ได้ชี้ว่า Google อาจแยกความแตกต่างของคอนเท็นต์ระหว่าง “คุณภาพ” และ “ประโยชน์”
ปัจจัยเรื่องระดับ
62. บทความที่ให้สาระประโยชน์เชิงลึก: Google กล่าวว่า กำลังไล่ล่าเว็บที่ไม่มีบทความใหม่ๆ หรือมีประโยชน์ โดยเฉพาะเว็บ“thin affiliate”
63. หน้าติดต่อเรา: Google Quality Documentกล่าวว่าเขาชอบหน้าเว็บที่ “มีข้อมูลติดต่อได้เพียงพอ” และถ้าข้อมูลการติดต่อตรงกับข้อมูล whois ก็ยิ่งดี
64. Domain Trust/TrustRank: วัดจากลิงค์ที่เว็บคุณได้จากเว็บอื่นๆ มี Trust Rank สูงโดยเฉพาะมาจาก seed sites ซึ่งสำคัญต่อการจัดอันดับมาก
65. โครงสร้างเว็บ: โดยเฉพาะโครงสร้างเว็บแบบ silo จะช่วยให้ Google จัดการคอนเท็นต์ในเว็บของคุณได้เป็นอย่างดี
66. การอัพเดทเว็บบ่อยๆ: โดยเฉพาะหากเนื้อหามีการอัพเดทบ่อยๆ —และโดยเฉพาะเมื่อคอนเท็นต์ใหม่ได้เพิ่มไปยังเว็บ จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสดใหม่ของเว็บและมีผลดีต่อการจัดอันดับ
67. จำนวนหน้าเว็บ: เว็บที่มีจำนวนหน้าเยอะ ทำให้ Google มองว่าเว็บขนาดใหญ่ช่วยแยกความแตกต่างจาก “thin affiliate site”
68. การมีไฟล์ sitemap: sitemap ช่วยให้เซิร์จเอ็นจิ้นทำ index หน้าเว็บของคุณได้ง่าย และละเอียด เพิ่มการมองเห็นในผลลัพธ์การค้นหา
69. Site Uptime: การที่เว็บ down จากการซ่อมบำรุงเว็บหรือปัญหาเซิร์ฟเวอร์อาจส่งผลเสียต่ออันดับของคุณ (และสามารถส่งผลต่อการไม่ทำ index คือไม่แสดงผลในเซิร์จเอ็นจิ้นหากข้อมูลไม่ถูกต้อง
70. ที่อยู่ของเซิร์ฟเวอร์: ที่อยู่ของเซิร์ฟเวอร์อาจมีผลให้อันดับของเว็บคุณมีอันดับแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภูมิภาคของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะเมื่อเป็นการค้นหาแบบเจาะจงพื้นที่
71. SSL Certificate: Google ยืนยันว่าพวกเขาทำการเก็บข้อมูล SSL certificate ด้วย ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งว่า Google อาจจะจัดอันดับเว็บอีคอมเมิร์ซที่มี SSL certificates และใช้ HTTPS เป็นตัวจัดอันดับ
72. เงื่อนไขการให้บริการและหน้าส่วนตัว:สองหน้านี้จะช่วยบอก Google ว่าเว็บไซต์นี้เป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือในโลกออนไลน์
73. เนื้อหาที่ซ้ำกันบนเว็บ:หน้าที่ซ้ำซ้อนและ meta information ที่เหมือนกันทุกหน้าในเว็บอาจจะทำให้เว็บไซต์ของคุณอันดับต่ำลง
74. เมนูนำทางแบบ Breadcrumb: เป็นเมนูที่ช่วยให้ผู้เยี่ยมชม รวมไปถึง search engines รู้ว่าตอนนี้หน้าที่พวกเขาอยู่นั้นอยู่ตรงส่วนไหนของเว็บดังรูป:
ทั้งสองเว็บไซต์นี้ได้แก่ SearchEngineJournal.com และEthical SEO Consulting อ้างว่ามันช่วยในการจัดอันดับด้วย
75. การทำ SEO บนมือถือ:การออกแบบให้รองรับอุปกรณ์มือถือ การออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับอุปกรณ์มือถือต่าง ๆ (responsive website) จะช่วยให้ติดอันดับที่ดีในการค้นหาโดยใช้อุปกรณ์มือถือในความเป็นจริงแล้วพวกเขาได้เพิ่ม “Mobile friendly tag” ไปยังเว็บเพื่อแสดงผลได้ดีขึ้นบนอุปกรณ์มือถือ Googleเริ่มลงโทษเว็บที่เป็น mobile search แต่ไม่ได้เป็นมิตรต่อผู้ใช้หรือ mobile friendly
76. YouTube: แน่นอนว่าวีดีโอเว็บ youtube สามารถทำอันดับใน google ได้ดี เหตุผลง่าย ๆ ก็แค่เจ้าของเดียวกันดังรูป:
ในความเป็นจริง ในผลการค้นหาพบว่า มี traffic ใน youtube เพิ่มมากขึ้นหลังจาก Google Panda
77. เว็บไซต์ที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้:เว็บที่ยากต่อการใช้งาน หรือดูหน้าเว็บ จะทำให้อันดับแย่ลงเนื่องจากผู้เยี่ยมชมใช้เวลาบนเว็บไซต์น้อยกว่าเว็บทั่วไป รวมดูจำนวนหน้าที่ดูน้อยกว่า การกลับเข้ามาดูอีกครั้งที่ต่ำ
78. การใช้ google analytics และ google webmaster tools:หลายคนมีความเชื่อว่าถ้ามีการติดตั้งสองโปรแกรมนี้บนเว็บจะช่วยเรื่องการเก็บข้อมูล และส่งผลโดยตรงต่อการจัดอันดับเนื่องจากได้ให้ข้อมูลของเว็บคุณตามที่ google ต้องการ
79. คำวิจารณ์จากผู้เยี่ยมชม/ชื่อเสียงของเว็บไซต์: คำวิจารณ์บนเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ เช่น Yelp.com และ RipOffReport.comจะส่งผลต่อการจัดอันดับ Google ได้โพสต์ให้เห็นแนวทางการใช้สิ่งนี้เข้ามาร่วมจัดอันดับหลายครั้ง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถให้คะแนนเว็บเพื่อลดปัญหาการสร้าง link ที่เน้นเรื่อง seo มากกว่าเป็น link ตามธรรมชาติ
ปัจจัยด้าน Backlink
80. อายุของลิงก์จากโดเมน: ลิงก์จากเว็บที่มีอายุเก่าแก่ให้ผลดีมากกว่าลิงก์จากเว็บใหม่ๆ
81. # ลิงค์ที่ไปยัง Root Domains: จำนวนลิงก์ที่ลิงก์ไปที่หน้าหลักของเว็บ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับของ googleจากที่เห็นในชาร์ทนี้ของ Moz (แกนด้านล่างคือ SERP Position):
82. # ลิงค์จาก Separate C-Class IPs: จำนวนลิงค์ที่ลิงค์ไปที่หน้าหลักของเว็บ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับของ google
83. # ลิงค์จากหน้าต่างๆ: จำนวนของลิงค์ที่ได้จากเว็บที่มี IP class C แตกต่างกัน ยิ่งหลากหลายเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีกับเว็บคุณ
84. Alt Tag (สำหรับลิงค์รูปภาพ): อย่าลืมใส่ให้กับรูปภาพในเว็บคุณ
85. ลิงค์จากเว็บ .edu or .gov:แม้ว่า Matt Cutts เองจะบอกว่า ลิงค์จากเว็บพวกนี้ไม่ได้สำคัญกว่าลิงกค์จากเว็บทั่วๆ ไป แต่หลายคนไม่เชื่อ และมั่นใจว่าการได้ลิงค์จากเว็บ .edu และ .gov ส่งผลดีกว่าลิงค์จากเว็บทั่วไปแน่ๆ
86. ค่า Authority ของหน้าที่ทำลิงค์มายังหน้าเว็บคุณ: Pagerank ของหน้าที่ทำลิงค์มาหาเว็บคุณ ยิ่งสูงยิ่งดี
87. ค่า Authority ของเว็บที่ทำลิงค์มายังเว็บคุณ:การได้ลิงค์จากหน้าเว็บpr2 เหมือนกัน แต่หน้าหลักเว็บแรก pr3 ในขณะที่เว็บที่สองหน้าหลัก pr8Yale.edu การได้ลิงค์จากเว็บที่สองย่อมได้ผลดีกว่า
88. ลิงค์จากเว็บคู่แข่ง: ลิงก์จากหน้าเว็บที่อยู่ในหน้าผลการจัดอันดับในคำเดียวกัน ย่อมส่งผลดีกับเว็บคุณในคำนั้น ๆ
89. การแชร์ในสื่อสังคมหรือหน้า Referral: ยิ่งจำนวนมากยิ่งมีคุณค่าในการจัดอันดับกับหน้านั้นๆ
90. ลิงค์จากเว็บที่ไม่พึงประสงค์: ลิงค์จาก “เว็บที่ไม่พึงประสงค์” เว็บต้องห้ามต่างๆ จะส่งผลเสียกับเว็บคุณ
91. การเขียนโพสต์จากบุคคลภายนอก: การเขียนโพสต์จากบุคคลภายนอกถือเป็นการทำ white hat SEO ลิงค์ที่ได้นั้นส่วนใหญ่จะได้ในส่วนของผู้เขียนข้อความนั้น ซึ่งถือว่ามีค่าน้อยกว่าลิงค์ในบทความ
92. ลิงค์ที่ไปยังหน้าแรกของเว็บในหน้านั้น: การมีลิงค์ไปที่หน้าหลักบนหน้ารองๆ ของเว็บจะช่วยส่งผลต่อการจัดอันดับ
93. การทำลิงค์แบบ Do Follow: หนึ่งในหัวข้อที่เป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดใน SEO Google กล่าวว่า:"โดยทั่วไปเราไม่ทำลิงค์แบบ Do Follow"ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาทำ ... อย่างน้อยในบางกรณี การมีลิงค์แบบ No Follow บางอย่างอาจบ่งบอกถึงโปรไฟล์ลิงค์ที่เป็นธรรมชาติและผิดปกติ
94. ความหลากหลายของลิงค์: ลิงค์จากหน้าประวัติส่วนตัวที่มี % ว่าเป็นลิงค์ด้อยคุณภาพ ลิงก์ส่วนใหญ่ที่คนทำ SEO ใช้กันอย่างเช่นลิงค์จากความคิดเห็นหรือประวัติส่วนตัว เป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณพยายามโกงระบบอยู่
95. “Sponsored Links” หรือใช้คำว่า Around Link: คำที่เรียกเช่น “sponsors”, “link partners” และ “sponsored links” อาจลดคุณค่าการจัดอันดับของลิงค์
96. Contextual Links: ลิงค์ที่ฝังอยู่ภายในเนื้อหาของหน้าเว็บถือว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าลิงค์ในหน้าว่างหรือพบที่อื่นในหน้าเว็บ
ตัวอย่างของ contextual links คือ backlinks จาก guestographics
97. การทำ 301 Redirectส่งไปยังหน้ามากเกินไป: ลิงค์ที่มาจากการทำ 301 redirect ส่งผลกับค่า PR จาก วิดิโอช่วยเหลือของเว็บมาสเตอร์
98. การทำ Backlink Anchor Text: จากคำอธิบายของ Google เรื่อง algorithm:“อย่างแรกเลย anchor ส่วนใหญ่ให้คำอธิบายหน้าเว็บมากกว่าตัวเว็บเอง” anchor text link เป็นสิ่งที่ช่วยให้ google รู้ว่า จะจัดการอันดับให้เว็บด้วยคำว่าอะไร แต่หลังๆ ความสำคัญลดลงมากเนื่องจากมีการ spam anchor text link
99. การทำ Anchor Text Link ให้กับลิงค์ภายใน: การทำ anchor text link ให้กับลิงก์ภายในไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวกับคำนั้น ช่วยส่งผลต่อการจัดอันดับ แม้ว่าอาจไม่เหมือนการได้ลิงก์จากเว็บภายนอก
100. หัวข้อลิงค์: ข้อความที่ปรากฎขึ้นเมื่อคุณลากเมาส์ไปเหนือลิงก์นั้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการจัดอันดับ
101. นามสกุลโดเมนที่เป็นประเทศ: การได้ลิงค์พวกโดเมนดอทต่างๆ ที่เป็นชื่อประเทศ เช่น .de, .cn, .co.uk.จะช่วยให้เว็บของคุณทำอันดับได้ดีในประเทศนั้นๆ
102. ลิงค์สถานที่ในบทความ: ลิงค์ที่อยู่ในส่วนของบทความจะมีน้ำหนักมากกว่า ลิงค์ที่อยู่ตอนท้ายของบทความ
103. ที่อยู่ของลิงค์ในหน้า: การที่ลิงค์นั้นปรากฏในหน้านั้นเป็นจุดสำคัญอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วลิงค์ในบทความของหน้านั้นจะมีพลังมากกว่าลิงค์ที่อยู่ด้านข้างหรือด้านล่างของเว็บ
104. การได้ลิงค์จากเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน: ยิ่งเป็นเว็บที่เฉพาะเจาะจง ยิ่งได้พลังจากเว็บเหล่านั้นมากกว่าได้ลิงค์จากเว็บที่ไม่เกี่ยวข้องกันนั่นเป็นสิ่งที่เป็นเหตุผลให้กลยุทธ์ที่ประสบผลในการทำ SEO ทุกวันนี้มาจากการโฟกัสที่ลิงค์ที่เกี่ยวข้องกัน
105. ระดับความเกี่ยวข้องของหน้า: Hilltop Algorithm บอกว่าลิงค์จากหน้าที่ใกล้เคียงกับบทความหน้าจะมีพลังมากกว่าได้ลิงค์จากหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง
106. ข้อความรอบๆ ลิงค์google: อาจใช้ข้อความรอบ ๆ ลิงค์นั้นเพื่อตัดสินว่าลิงค์นั้นเป็นอย่างไร เพราะข้อความการเป็นคำแนะนำเว็บคุณ หรือเป็นการวิจารณ์เว็บคุณในแง่ร้าย ลิงค์ที่มีข้อความรอบๆ เป็นข้อความที่ดีย่อมส่งผลดีมากกว่า
107. คีย์เวิร์ดในหัวข้อ: google ชอบลิงค์ในหน้าที่มีคีย์เวิร์ดในหัวข้อเป็นพิเศษ (“Experts linking to Experts” ในที่นี้คำที่เป็นคีย์เวิร์ดคือ Experts)
108. Link velocity: การที่เว็บเราได้ backlink เพิ่มหรือลด ย่อมหมายถึงเว็บคุณได้รับความนิยม การมี positive link velocity ย่อมเป็นผลดีกับเว็บของคุณ
109. negative link velocity: ตรงกันข้ามกับ positive link velocity การที่เว็บของคุณมีจำนวน backlink น้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป หมายถึงการเสื่อมความนิยมของเว็บของคุณ
110. ลิงค์จากหน้าเว็บท่า: การได้ลิงค์จากหน้าเว็บที่ google มองว่าเป็นเว็บข้อมูลชั้นดี หรือหน้าเว็บท่า ในหัวข้อเฉพาะจะได้รับการจัดอันดับที่ดีเป็นพิเศษ
111. ลิงค์จากเว็บ Authority: ลิงก์จาก “เว็บ authority” จะช่วยเพิ่มพลังให้เว็บคุณมากกว่าเว็บเล็กๆ ทั่วไป
112. การได้ลิงค์จากแหล่งอ้างอิงใน Wikipedia: แม้ว่าลิงค์เหล่านั้นจะเป็น no follow แต่หลายคนก็คิดว่าการได้ลิงค์จาก Wikipedia จะช่วยเพิ่ม trust และ authority ให้กับเว็บคุณในการจัดอันดับของ search engines.
113. คำที่ปรากฎรอบๆ: คำที่ปรากฎรอบ ๆ backlinks ของคุณจะช่วยให้ Google รู้ว่าหน้าเว็บคุณเกี่ยวกับอะไร
114. อายุ Backlink: สอดคล้องกับสิทธิบัตรของ Google ลิงค์ที่เก่าแก่กว่าจะให้พลังมากกว่าลิงค์ใหม่ๆ
115. ลิงค์จากเว็บจริง ๆ เทียบกับ Splogs: เนื่องจากการมีบล็อกเน็ตเวิร์คเพิ่มขึ้นจำนวนมาก Google จึงให้น้ำหนักมากกว่าจากลิงค์ที่มาจากเว็บจริงๆ จากบล็อกปลอมๆ
116. ลิงค์จากประวัติส่วนตัวที่เป็นธรรมชาติ: เว็บที่มีลิงค์ประวัติส่วนตัวเป็น “ธรรมชาติ” จะได้อันดับที่ดีและมั่นคงกว่าในการอัปเดต
117. การแลกเปลี่ยนลิงค์: Google “ห้ามทำการแลกเปลี่ยนลิงค์มากเกินไป” ซึ่งจะผลเสียต่ออันดับของเว็บไซต์คุณ
118. ลิงค์เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้าง: Google สามารถแยกได้ว่าลิงค์มาจากผู้ใช้หรือเจ้าของสร้าง ตัวอย่างเช่น google รู้ว่าลิงค์ที่มาจากบล็อกทางการของ WordPress.com ที่ en.blog.wordpress.com นั้นจะแตกต่างจากลิงค์จากบล็อกชื่ออื่น ๆ ของ wordpress.com (ตัวอย่างเช่น besttoasterreviews.wordpress.com)
119. ลิงค์จากหน้า 301: ลิงค์จากหน้า 301 redirects อาจจะเสียพลังไปบ้างเมื่อเทียบกับลิงค์ตรงๆ อย่างไรก็ดี Matt Cutts บอกว่าลิงค์301 นั้นให้ผลคล้ายกับลิงค์ตรงๆ
120. Schema.orgMicroformats: หน้าที่รองรับรูปแบบ microformats อาจได้อันดับดีกว่าหน้าที่ไม่รองรับมัน Microformat ให้ค่า SERP CTR สูงกว่าดังรูป:
121. การติด DMOZ:หลายคนเชื่อว่า Google ให้เครดิตกับเว็บที่ติดใน DMOZ ว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพ
122. การติดในไดเรกทอรีของ Yahoo!: Google น่าจะมี algorithm ที่ให้ความสำคัญกับ Yahoo! Directory ดูจากการเป็นเว็บไดเรกทอรีมาอย่างยาวนาน ไม่แปลกที่เว็บที่ติดในนี้จะได้อันดับที่ดี
123.จำนวนของลิงค์ออกในหน้า:PageRank นั้นมีข้อจำกัด ดังนั้นลิงค์บนหน้าที่มีลิงค์ออกเป็นร้อยๆ ลิงค์ย่อมส่งพลังของ pagerank ต่อไปได้น้อยกว่าหน้าเว็บที่มีลิงค์ออกน้อยกว่า
124. ลิงค์ประวัติส่วนตัวฟอรั่ม: เพราะว่ามีการเพิ่มจำนวนสแปมค่อนข้างมาก Google จึงอาจจะลดความสำคัญของลิงค์จากหน้าประวัติส่วนตัวในฟอรั่มลง
125. จำนวนคำของลิงค์เนื้อหา:ลิงค์จากบทความหนึ่งพันคำย่อมให้ผลดีกว่าลิงค์จากหน้าบทความที่มีเพียงยี่สิบห้าคำ
126. คุณภาพของลิงค์เนื้อหา:ลิงค์จากหน้าบทความแย่ๆ อย่างบทความสปินที่อ่านไม่รู้เรื่อง จะไม่ส่งพลังคุณค่าให้มากเหมือนกับหน้าบทความที่มีการเขียนเรียบเรียงอย่างดี
127. ลิงค์ด้านข้างเว็บไซต์:Matt Cutts ยืนยันแล้วว่าลิงค์ด้านข้างเว็บไซต์ที่อยู่ทุกหน้าของเว็บนั้นจะถูก ”นับรวม” เป็นเพียงแค่ลิงค์เดียว
การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
128. อัตราการคลิกสำหรับ Keyword ในหน้าการค้นหา: หน้าที่ได้คลิกมากกว่าโดยมีค่า CTR สูงกว่าจะได้อันดับที่ดีขึ้นใน keyword นั้น
129. อัตราการคลิกสำหรับทุก Keywords:หน้าหรือเว็บไซต์ที่มีอัตราการกดคลิกสูงสำหรับทุก keywords จะถูกจัดอันดับให้ดีขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์ว่ามีคนสนใจมาก ก็น่าจะเป็นหน้าเว็บที่น่าสนใจ
130. ระยะเวลาการอยู่ในหน้าเว็บ: หลายคนเชื่อ ในขณะที่อีกหลายคนไม่เชื่อว่าระยะเวลาที่ผู้เยี่ยมชมอยู่ในหน้าเว็บจะส่งผลกับ SEO แต่มันอาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ google ใช้ในการจัดอันดับโดยใช้ผู้ใช้ของตัวเอง เป็นตัววัดคุณภาพของหน้าเว็บนั้นๆ เพราะถ้าหน้าเว็บไม่ดี คนจะรีบกดออกอย่างรวดเร็ว
131. ทราฟฟิกแบบตรง: มีการยืนยันแล้วว่า Google ใช้ข้อมูลจาก Google Chrome เพื่อกำหนดว่ามีหรือไม่มีผู้คนเยี่ยมชมเว็บไซต์ (และเยี่ยมชมบ่อยแค่ไหน) เว็บไซต์ที่มีการเปิดเข้าเว็บโดยตรงจะถูกมองว่าเป็นเว็บคุณภาพดีกว่าเว็บที่ถูกเปิดด้วยวิธีแบบอื่น
132. ทราฟฟิกซ้ำ:google มองว่าผู้เยี่ยมชมเว็บนั้น ได้กลับมาชมเว็บอีกหรือไม่ เว็บไซต์ที่มีผู้เยี่ยมชมเดิมๆ เข้ามาซ้ำจะมองว่าเป็นเว็บคุณภาพดี และได้รับการจัดอันดับที่ดี
133. เว็บที่ถูกปิดกั้น:Google ไม่ใช่สิ่งนี้แล้วใน Chrome อย่างไรก็ตาม Panda algorithm ใช้คำสั่งนี้ในการตัดสินว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพหรือไม่
134. Chrome Bookmarks: bookmark ใน Chrome อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ google ใช้มาช่วยวัดคุณภาพของเว็บ
135. ข้อมูล Google Toolbar: มีรายงานว่า Google ใช้ข้อมูลทูลบาร์เป็นตัววัดคุณภาพเว็บด้วย อย่างไรก็ตาม จากที่เราเคยรู้มาว่า google เก็บเวลาในการโหลดหน้าเว็บและเว็บนั้นติด แต่ตอนนี้ก็ได้รู้เพิ่มว่า google เก็บข้อมูลของเว็บเพิ่มจาก toolbar ของตัวเอง
136. จำนวนความคิดเห็น: หน้าที่มีความเห็นจำนวนมาอาจจะบ่งบอกถึงการตอบสนองของผู้ใช้และคุณภาพของเว็บ
137. Dwell Time: Google ให้ความสนใจอย่างมากกับ “dwell time”: ผู้คนใช้เวลานานเท่าไหร่บนเว็บไซต์คุณเมื่อมาจากหน้าค้นหาของ google บางครั้งสิ่งนี้ก็ถูกเอาไปอ้างอิงถึงเปรียบเทียบ “long clicks” กับ “short clicks”ถ้าผู้คนใช้เวลาอยู่บนเว็บของคุณนาน ก็หมายถึงเว็บคุณเป็นเว็บคุณภาพ
กฎพิเศษของ Algorithm
138. Query Deserves Freshness: Google ให้อันดับที่ดีสำหรับหน้าใหม่ๆ เนื้อหาใหม่ๆ ในผลการค้นหา สอดคล้องกับ caffeine algorithm แต่หลังๆ ก็โดนลดความสำคัญลง
139. Query Deserves Diversity: Google อาจจะเพิ่มความหลากหลายเข้าไปในผลลัพท์การค้นหาสำหรับคีย์เวิร์ดทั่ว ๆ ไปอย่างเช่นคำว่า “Ted”, “WWF” หรือ “ruby”
140. ประวัติการใช้เบราว์เซอร์ของผู้ใช้: เว็บไซต์ที่คุมเยี่ยมชมบ่อย ๆ ในขณะที่คุณเข้าสู่ระบบของ google จะได้รับการจัดอันดับที่ดีสำหรับการค้นหาของคุณ
141. ประวัติการค้นหาของผู้ใช้: ผลลัพธ์การค้นหาก่อนหน้าจะส่งผลต่อการค้นหาล่าสุด ตัวอย่างเช่นถ้าคุณค้นหา “reviews” แล้วค้นหาคำว่า “toasters” Google จะจัดอันดับเว็บที่มีคำว่า “toaster review” สูงขึ้นในผลการค้นหา
142. Geo Targeting: Google ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่มีไอพีเซิร์ฟเวอร์ในถิ่นที่อยู่แถบนั้นและดอทต่างๆ ที่มีประเทศลงท้าย
143. การค้นหาแบบปลอดภัย: การค้นหาแบบปลอดภัยจะปิดกั้นไม่ให้คำหยาบและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับเยาวชนมาแสดง
144. Google+ Circles: Google แสดงอันดับที่สูงสำหรับผู้เขียนและเว็บไซต์ที่เราได้เพิ่มลงในแวดวง Google Plus ของเรา
145. การร้องเรียน DMCA: Google จะลดอันดับของหน้าเว็บที่ถูกร้องเรียนเกี่ยวกับ DMCA
146. ความหลากหลายของโดเมน: ดูเหมือนว่าจะมี algorithm ที่ชื่อว่า Bigfoot Update ที่จะทำการเพิ่มหน้าโดเมนต่างๆ เน้นที่ความหลากหลายในหน้าการค้นหามากขึ้นทำให้ หน้ารองๆ ของเว็บอันดับต้นๆ ได้อันดับดีกว่า หน้าหลักของเว็บรองๆ
147. การค้นหาคีย์เวิร์ดสินค้า: บางครั้ง Google จะแสดงผลลัพธ์สำหรับคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับสินค้าหรือการขายของในรูแบบที่แตกต่างออกไป
148. การค้นหาท้องถิ่น:Google มักจะใส่ผลการค้นหาท้องถิ่นของ Google+ Local results ลงในหน้าผลลัพธ์การค้นหาทั่วๆ ไป
149. Google News Box: การค้นหาบางคีย์เวิร์ด google อาจจะแสดงผลลัพธ์ข่าวของ google ที่เกี่ยวกับคีย์เวิร์ดนั้นในบางครั้ง
150. ความให้ความสำคัญกับยี่ห้อดังๆ:Algorithm ที่ชื่อว่า Vince ที่ถูกเพิ่มขึ้นมาในปี 2009 ไม่ได้ทำให้อันดับเปลี่ยนแปลงมาก แต่มันให้ความสำคัญกับยี่ห้อดังๆ โดยทำให้หน้าเว็บยี่ห้อดังๆ ติดอันดับในคำที่ niche มากขึ้น
151. ผลลัพธ์สินค้า: บางครั้ง google แสดงผลลัพธ์สินค้า (Google Shopping results) ในการค้นหา
152. ผลการค้นหาแบบรูปภาพ: บางครั้ง Google แทรกผลการค้นหาของเราด้วยผลลัพธ์การค้นหารูปที่ถูกดูมากที่สุดบนการค้นหาแบบรูปภาพ
153. การค้นหาแบบ Easter Egg: Google มีการค้นแบบ Easter Egg อยู่สิบกว่าอย่าง ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคุณค้นหาคำว่า ”Atari Breakout” ในการค้นหาแบบรูปภาพ ผลลัพธ์การค้นหาจะกลายเป็นการเริ่มเล่นเกมส์นี้การค้นหาแบบรูปภาพ หาคำว่า “Atari Breakout”การค้นหาแบบเว็บ “Zerg rush”, “do a barrel roll”, “blink html”
154. ผลการค้นหาแสดงเว็บไซต์เดียวสำหรับยี่ห้อ: คีย์เวิร์ดที่เป็นชื่อเว็บหรือยี่ห้อจะทำให้เกิดผลการค้นหาจากเว็บเดียวกันหลายๆ หน้า
สัญญาณทางสังคม
155. จำนวนครั้งที่ทวีต: คล้ายกันกับลิงค์ การทวีตหน้าจะช่วยเพิ่มอันดับใน Google
156. บัญชีของผู้ใช้ Twitter ที่มีชื่อเสียง: เหมือนกันการทวีตจากหน้าผู้ใช้ที่สร้างมานานแล้ว หรือหน้าของผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงอย่างดารา นักร้องดังๆ ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากจะมีอิทธิพลสูงกว่าทวีตจากหน้าของผู้ใช้ใหม่
157. จำนวนการไลค์ในเฟซบุ๊ค : แม้ว่า Google จะไม่สามารถเห็นบัญชี Facebook แต่ละบัญชี แต่ google ก็คำนึงถึงจำนวนไลค์ใน facebook มาช่วยในการจัดอันดับด้วย แม้ว่าจะไม่มีผลมาก
158. การแบ่งปันใน Facebook:การแชร์โพสต์ใน Facebook — เพราะว่ามันคล้ายคลึงกับการสร้าง backlink ดังนั้นการแชร์ใน facebook นั้นได้ผลดีกว่าการมีไลค์ใน facebook
159. หน้าผู้ใช้ที่มีชื่อเสียง: เหมือนกับ Twitter การแชร์ใน Facebook shares และการไลค์จากหน้าใน facebook ที่ได้รับความนิยมมาก ย่อมให้ผลดีกว่าหน้าทั่วๆ ไป
160. Pinterest Pins: Pinterest เป็นโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีข้อมูลสาธารณะเป็นจำนวนมาก จึงดูเหมือนว่า google จะให้ความสำคัญกับ Pinterest Pins เป็นโซเชียลมีเดียที่สำคัญในการจัดอันดับ
161. การโหวตบนเรื่องที่แบ่งปันบนเว็บสื่อสังคมหรือโซเชียล: ดูเหมือนว่า Google ใช้การแบ่งปันบนเว็บอย่าง Reddit, Stumbleupon และ Digg เป็นตัวชี้วัดหนึ่งเรื่องความนิยมทางสังคมออนไลน์
162. จำนวนของ Google+1′s:แม้ว่า Matt Cutts จะบอกว่า Google+ ไม่มีผลโดยตรงกับการจัดอันดับ มันก็ยากที่จะเชื่อถือ เพราะว่า google ให้ความสำคัญกับเว็บโซเชียลอื่น แล้วทำไม google จะไม่ให้ความสำคัญกับเว็บโซเชียลที่ตัวเองเป็นเจ้าของอย่าง Google Plus
163. บัญชีผู้ใช้ Google+ ที่มีชื่อ: ดูเหมือนว่าการกด +1 ใน google plus จากบัญชีผู้ใช้ที่มีชื่อจะส่งผลดีมากกว่าการกดของบัญชีที่มีผู้ติดตามน้อยกว่า
164. การยืนยันความเป็นผู้เขียนบน google plus (Google+ Authorship):ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 อีริค ชมิดท์ ซีอีโอของ Google ได้อ้างว่า:“ภายในผลลัพธ์การค้นหา ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติส่วนตัวที่ทำการยืนยันออนไลน์แล้วจะได้รับอันดับที่ดีกว่าบทความทั่วๆ ไปที่ยังไม่มีการยืนยันตัวตน การยืนยันผู้เขียนจึงเป็นการบอกถึงคุณภาพของเว็บ
165. การชี้วัดการเกี่ยวข้องทางสังคม:Google อาจจะใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจากบัญชีผู้ใช้ที่ทำการแบ่งปันบทความและข้อความรอบๆ ลิงค์
166. การได้รับการวัดว่าเป็นเว็บที่ดีจากโซเชียลต่างๆ: จะช่วยเพิ่ม authority ให้กับทั้งเว็บ ซึ่งจะช่วยอันดับในหน้าเว็บทั้งหมดของเว็บนั้น
สัญญาณของแบรนด์
167. anchor text ลิงค์ที่เป็นชื่อยี่ห้อ: นั้นสั้นๆ เรียบง่าย แต่ให้ผลดีอย่างยิ่ง
168. การค้นหาตรายี่ห้อเฉพาะ: (ตรายี่ห้อ หรือชื่อเว็บไซต์) เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายๆ ว่าเมื่อผู้คนค้นหาตรายี่ห้อ หรือค้นหาชื่อเว็บคุณบน google (ตัวอย่างเช่น “WordThai” + “keyword”) Google จะให้ความสำคัญกับเว็บของตรายี่ห้อนั้นหรือเว็บที่เป็นเจ้าของชื่อเว็บนั้นเป็นพิเศษ
169. เว็บไซต์ที่มีหน้าเฟซบุ๊คและจำนวนไลค์ที่มาก: จะได้รับการจัดอันดับที่ดี
170. เว็บไซต์ที่โปรไฟล์ Twitter Profile: ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากแสดงว่าเป็นเว็บที่ได้รับความนิยม
171. หน้า Linkedin อย่างเป็นทางการของบริษัท: บ่งบอกถึงความมีตัวตนจริงๆ ของธุรกิจนั้นๆ สร้างความน่าเชื่อถือให้เว็บ
172. รายชื่อลูกจ้างบนหน้าเว็บ Linkedin: หน้าประวัติส่วนตัวของผู้ใช้ที่ยืนยันทำงานอยู่บริษัทนั้น ช่วยทำให้หน้าเว็บบริษัทมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
173. การเคลื่อนไหวของบัญชีโซเชียลมีเดีย: มันคงดูเป็นเรื่องแปลกที่บัญชีในเว็บโซเชียลที่มีคนติดตามมากกว่าหนึ่งหมื่นคน แต่มีเพียงสองโพสต์ ดังนั้นเว็บที่มีผู้ติดตามมากและมีความสัมพันธ์กับผู้ติดตามมากๆ เช่นการโพสต์เรื่องจะช่วยเรื่องอันดับได้ดีกว่า
174. การเอ่ยถึงชื่อยี่ห้อบนเว็บไซต์ข่าว: เว็บยี่ห้อดัง ๆ มักจะถูกเอ่ยถึงในเว็บข่าวของ google อยู่เรื่อยๆ ในความจริงแล้วยี่ห้อดังๆ บางยี่ห้อ มี feed ข่าว google ของตัวเองบนหน้าแรกด้วยซ้ำไป
175. การอ้างอิงร่วม: ยี่ห้อจะได้รับการพูดถึงเมื่อปราศจากลิงค์ส่งไปหามัน Google ชอบการไม่ทำ hyperlink ไปยังยี่ห้อนั้น
176. จำนวนของสมาชิกรับข่าว RSS: การที่ Google เป็นเจ้าของบริการ RSS ที่มีชื่อเสียงอย่าง Feedburner จึงดูเหมือนว่า google จะให้ความสำคัญกับจำนวนสมาชิกรับข่าว RSS ว่าเว็บนั้นได้รับความนิยม
177 ธุรกิจที่ลงที่อยู่ในรายชื่อ Google+ ท้องถิ่น: ธุรกิจที่แท้จริงต้องมีที่อยู่ออฟฟิตแน่นอน มันเป็นไปได้ที่ google จะให้น้ำหนักกับธุรกิจที่ลงที่อยู่ในรายชื่อ Google plus ท้องถิ่น
178. เว็บไซต์เป็น Website is Tax Paying Business: รายงานของ SEOMoz ว่า Google อาจจะดูว่าเว็บนั้นเป็นธุรกิจที่มีการจ่ายภาษีหรือไม่ ซึ่งเป็นการยืนยันตัวตนที่ดี
ปัจจัยด้านOn-Site WebSpam
179. การลงโทษของแพนด้า: เว็บไซต์ที่มีบทความคุณภาพต่ำ (อย่างเช่นบทความที่สร้างขึ้นมั่วๆ) จะถูกเมินหลังจากได้รับการลงโทษตาม algorithm Panda
180. การลิงก์ไปยังเว็บแย่ๆ : การลิงค์ไปเว็บโป๊ การพนัน ผิดกฎหมายต่างๆ หรือเว็บขายยาหรือพวก payday load จะทำให้อันดับเว็บของคุณแย่ลง
181. การรีไดเรค: การรีไดเรคแบบโกงๆ เพื่อหวังผลนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้า google จับได้ ไม่ใช่แค่โดนลงโทษ แต่จะโดนแบนทันที
182. หน้าต่างป็อบอัพ หรือโฆษณาบังหน้าเว็บ : คู่มือแนะนำเว็บไซต์ของ google บอกว่าหน้าต่างป็อปอัพและโฆษณาที่ขึ้นมาบังหน้าเว็บบ่งบอกว่าเว็บนั้นมีคุณภาพต่ำ
183. เว็บที่ทำ SEO มากเกินไป: หน้าเว็บที่มีจำนวนคีย์เวิร์ดมากเกินไป การใส่คีย์เวิร์ดลงในส่วนหัวเยอะ ๆ หรือการใช้ คีย์เวิร์ดบ่อยครั้ง อาจะได้รับผลเสีย
184. หน้าที่ทำ SEO มากเกินไป: เพนกวินนั้นทำงานต่างกับแพนด้า โดยที่มันจะวิเคราะห์เป็นมาก ไม่เหมือนกับแพนด้าที่วิเคราะห์เป็นเว็บ
185. โฆษณามากเกินไป:Algorithm รูปแบบเว็บ จะลงโทษเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจำนวนมาก และมีเนื้อหาอยู่น้อย186. การซ่อนลิงก์ Affiliate : การซ่อน affiliate links โดยเฉพาะการ cloaking จะทำให้ถูกลงโทษ
187. เว็บ Affiliate:เป็นที่รู้กันดีว่า google ไม่ชอบเว็บ affiliates และหลายๆ คนก็เชื่อว่าเว็บที่มีลิงค์affiliates จะถูกจัดอันดับต่ำกว่าความเป็นจริง
188. บทความที่สร้างขึ้นมั่วๆ :Google เกลียดบทความที่สร้างขึ้นมั่วๆ หรือใช้โปรแกรมสร้างขึ้น ถ้าพวกเขาสงสัยว่าเว็บของคุณผลิตบทความที่ไม่ได้เขียนเอง อาจจะถูกลงโทษหรือโดนแบน
189. การตั้งใจทำ PageRank มากเกินไป: ไม่ว่าจะเป็นการใช้ no follow สำหรับลิงค์ออกทั้งหมด หรือลิงค์ภายในส่วนใหญ่ อาจเป็นสัญญาณว่าคุณพยายามที่จะโกงระบบที่ google คิดค้นขึ้น
190. ไอพีแอดเดรส ที่ถูกระบุว่าเป็นแสปม: ถ้าไอพีของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของคุณถูกระบุว่าเป็นสแปม มันจะส่งผลเสียกับเว็บทั้งหมดที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์นั้น
191. การสแปม Meta Tag:การฝังคีย์เวิร์ดในส่วนของ meta tags ถ้า Google คิดว่าคุณใส่ keyword มากเกินไปที่ meta tag google อาจจะลงโทษเว็บไซต์ของคุณ
ปัจจัยด้าน Off Page Webspam
192. การเพิ่มจำนวนอย่างมากของลิงค์:บ่งบอกความไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่ง google จะลงโทษเว็บไซต์ของคุณ
193. บทลงโทษของเพนกวิน: เว็บไซต์ที่เพนกวินลงโทษจะแทบหาไม่เจอเลยในหน้าการค้นหา
194. ลิงค์จากหน้าประวัติส่วนตัวที่มี % ว่าเป็นลิงก์ด้อยคุณภาพ: ลิงค์ส่วนใหญ่ที่คนทำ SEO ใช้กันอย่างเช่นลิงค์จากความคิดเห็นหรือประวัติส่วนตัว เป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณพยายามโกงระบบอยู่
195. การลิงค์ถึงเว็บที่เกี่ยวข้องกัน: การวิเคราะห์ที่ได้รับการเชื่อถือของเว็บไซต์ MicroSiteMasters.com บอกว่าเว็บที่มีลิงค์จำนวนมากจากเว็บที่ไม่เกี่ยวข้องกันจะถูกเพนกวินลงโทษ
196. คำเตือนลิงค์ไม่เป็นธรรมชาติ:Google ส่งข้อความหลายพันคำเตือนใน Google Webmaster Tools ซึ่งถ้าไม่แก้ไขจะทำให้อันดับหล่นลง แม้ว่าจะไม่ยืนยัน 100%
197. ลิงค์จาก IP Class C เดียวกัน: การได้ลิงค์จากหลาย ๆ เว็บไซต์ที่อยู่บนไอพีเดียวกัน เป็นตัวบอกว่าคุณกำลังสร้างลิงค์จากเน็ตเวิร์คของตัวเอง
198. ลิงค์anchor text “ที่เป็นพิษ”:การมีลิงค์anchor text “ที่เป็นพิษ” (ตัวอย่างเช่นคีย์เวิร์ดกลุ่ม pharmacy) จะบอกว่าเว็บคุณเป็นเว็บสแปม ถูกสแปม หรือโดนแฮก ซึ่ง google จะทำการลดอันดับเว็บของคุณ
199. การลงโทษจากพนักงาน google เอง: การลงโทษส่วนใหญ่เกิดจาก algorithm ของ google แต่ถ้ามีการร้องเรียนและพนักงาน Google พบว่าทำความผิดจริง แม้ว่าจะไม่ขัดกับ algorithm ของ google พนักงาน google ก็จะทำการลงโทษเว็บนั้นโดยตรง
200. การขายลิงค์: การขายลิงค์นั้นจะลด pagerank ของคุณและการส่งผลเสียกับการจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณ
201. Google Sandbox:เว็บไซต์ใหม่ๆ ที่มีลิงค์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก จะถูกเก็บไปไว้ใน Google Sandbox ซึ่งเว็บที่โดน google sandbox นั้น จะแทบไม่ปรากฎในหน้าการค้นหาของ google
202. Google Dance: การที่อันดับใน google ไม่นิ่งหรือที่เรียกกันว่า Google Dance จะส่งผลให้อันดับเว็บในหน้าการค้นหานั้นขยับเปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ตลอดในเวลาอันสั้น เป็นกระบวนการที่ google กำลังตัดสินใจเว็บไหนที่กำลังจะโกงระบบของ google อยู่
203. Disavow Tool:การใช้ Disavow Tool บน google อาจจะช่วยลบการถูกลงโทษของเว็บที่ทำ SEO ที่แย่ๆ ออกไปได้ แต่คุณต้องแก้ไขเว็บคุณให้ถูกต้องด้วย
204.การส่งคำขอให้พิจารณาใน google:การส่งคำขอที่ได้รับการตอบรับจะช่วยลบการลงโทษออกไป
ที่มา : http://backlinko.com/google-ranking-factors
สนใจจ้างทีมการตลาด ติดต่อ GENIUS GRAPHIC CO., LTD. รับทําการตลาดออนไลน์ให้เว็บไซต์ติดหน้าแรก google ได้ที่
Tel : 0859142954, 0882751575
Email : [email protected]
Facebook : GeniusWebb